กันซึมไฮบริดโพลียูเรีย

กันซึมไฮบริดโพลียูเรีย
Hybrid Polyurea

กันซึมระบบโพลียูเรีย ชนิดที่สามารถฉาบด้วยมือ ไม่ต้องใช้เครื่อง ใช้ความหนาเพียง 1 มม. แต่ให้ความแข็งแรงสูงมาก

ไฮบริดโพลียูเรีย (Hybrid Polyurea) เป็นระบบกันซึมดาดฟ้าชนิด 2 องค์ประกอบ (Two components) ยึดเกาะทุกสภาพพื้นผิว เช่น คอนกรีต เหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก ไฟเบอร์กลาส สามารถปาดด้วยเครื่องมือธรรมดาน้ำหนักเบา และทำงานในที่สูงได้ มีประสิทธิภาพสูงกว่ากันซึมดาดฟ้าโพลียูรีเทน มีค่าความต้านทานแรงดึง ความแข็ง การทนแรงกระแทก การทนต่อสารเคมีสูง สามารถแช่น้ำได้เป็นเวลา นานโดยไม่เกิดความเสียหาย และแห้งตัวเร็ว
วัสดุกันซึมดาดฟ้าไฮบริดโพลียูเรีย ผลิตภัณฑ์โดยผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2015 (คุณภาพ) และ ISO 14001:2015 (สิ่งแวดล้อม)

ลำดับชั้นวัสดุกันซึม

การทำกันซึมดาดฟ้าโดยไฮบริดโพลียูเรีย มี 3 ลำดับชั้น ให้ความหนารวม 1.5 มม.

  1. ชั้นแรก เป็นรองพื้น (Primer) หนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม.
  2. ชั้นที่สอง เป็นกันซึมดาดฟ้าไฮบริดโพลียูเรีย ชนิด 2 องค์ประกอบ (Two components) หนาไม่น้อยกว่า 1.5 มม.
  3. ชั้นที่สาม เป็นเคลือบทับหน้า หนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม.

ขั้นตอนการติดตั้งกันซึมดาดฟ้าระบบไฮบริดโพลียูเรีย

  1. ปรับสภาพผิวคอนกรีต โดยรื้อถอนกันซึมดาดฟ้าเดิมออกทั้งหมด เจียรขัดด้วยเครื่องขัดพื้น ให้เรียบปราศจากคราบน้ำมัน จารบีและความสกปรกอื่นๆและอุดรอยแตกของพื้นคอนกรีต รางน้ำ และพื้นผิวอื่นๆ ทั้งพื้นที่ และหากพื้นเดิมไม่เรียบ แตกร้าว หรือเป็นแอ่ง ต้องซ่อมแซมและปรับระดับให้มีความลาดเอียงลงรางระบายน้ำ ในกรณีบริเวณที่เป็นแอ่งขนาดเล็ก ใช้การปิดอุดด้วยโพลียูรีเทนความหนืดสูง (Putty)
  2. ลงรองพื้น (Primer) ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.25 ม.ม. โดยใช้ลูกกลิ้งชุบน้ำยารองพื้นฉาบให้ทั่วพื้นผิว ทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 ชั่วโมงจึงทำงานในชั้นถัดไป เมื่อปรับระดับเรียบแล้ว ปล่อยให้แข็งตัวก่อนแล้ว โดยใช้เวลาประมาณ 7-10 ชั่วโมงจึงสามารถลงชั้นกันซึมดาดฟ้าได้
  3. การฉาบกันซึมดาดฟ้า (Hybrid Polyurea) ปั่น น้ำยาไฮบริดโพลียูเรีย ชนิดสารคู่ (Two Components) โดยไม่มีการผสมสารอื่นใด ให้กระจายเข้ากันดีก่อนนำออกมาใช้อย่างน้อย 3 นาที เทลงพื้นแล้วคราดด้วย Rack ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 1.5 มม. ปล่อยให้แห้งในเวลา 3-4 ชั่วโมง
  4. ฉาบเคลือบผิวหน้า (Topping) โดยการปั่นอย่างน้อย 3 นาที ใช้ลูกกลิ้งฉาบผิว ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม. ในการทำงาน แล้วทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เป็นอันแล้วเสร็จ

ลักษณะเฉพาะ

คุณสมบัติทางกายภาพ ของไฮบริดโพลียูเรีย เป็นดังนี้

  1. ความยืดเมื่อขาด (Elongation at Break) 300 %
  2. ความแข็ง (Hardness) 80 Shore A
  3. ความต้านแรงดึง (Tensile Strength) 12 MPA
  4. ความต้านแรงฉีก (Tear Strength) 40 N/ mm
  5. ความทนต่อสภาวะแวดล้อม เป็นเวลา 168 ชม. การเปลี่ยนสี เกรย์สเกลระดับ 5 (ในข้อนี้มีผลวิเคราะห์โดยกรมวิทยาศาสตร์)

เปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพของกันซึมระดับสูง

คุณสมบัติ Polyurea Hybrid Polyurea Polyurethane
ความต้านแรงดึง (Tensile Strength) 30-35 Mpa 17-18 Mpa 14-15 Mpa
การยืดตัวเมื่อขาด (Elongation at Break) 350-300% 300-400% 600-700%
แรงที่ทำให้ฉีกขาด (Tear Strength) 130-140 N/mm 40-50 N/mm 30-35 N/mm
ความแข็ง (Hardness) 90 Shore A 90 Shore A 60-70 Shore A
เครื่องมือที่ใช้ (Machine or Equipment) เครื่องเฉพาะงาน ฉีดด้วยแรงดันสูงและความร้อน ใช้เครืองมือทั่วไปด้วยการปาดหรือสเปร์
เวลาในการแห้งใช้งานได้ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 12-15 ชั่วโมง
การป้องกันรังสียูวี ต้องใช้ Top Coat 5 Grey Scale 5 Grey Scale 5 Grey Scale
ขนาดพื้นที่ที่ควรใช้ เทียบจากราคาและคุณสมบัติ ควรมีพื้นที่ใหญ่มาก เป็นพื้นที่สำคัญมาก ไม่จำกัด
ราคาวัสดุรวมค่าแรง แพงมาก แพง ปานกลาง
ความทนทาน ระยะเวลาใช้งาน มากกว่า 8 ปี 7-8 ปี 6-7 ปี

ผลงานกันซึมของเรา

Scroll to Top