ระบบกันซึม
กันซึม PU กันซึมพียู กันซึมดาดฟ้า โพลียูรีเทน

กันซึมโพลียูรีเทน
PU (Polyurethane) Waterproofing

กันซึมโพลียูรีเทน กันซึมพียู เป็นระบบกันซึมดาดฟ้าที่ให้อายุการใช้งานยาวนาน

มีความยืดหยุ่นตัวสูง แก้ปัญหาการรั่วซึมได้ดี เหมาะสมที่สุดกับสภาพภูมิอากาศและโครงสร้างสิ่งก่อสร้างของอาคารในประเทศไทย

ลักษณะเฉพาะ

กันซึมพียูเป็นกันซึมประเภทยางสังเคราะห์โพลียูรีเทนชนิดสารเดี่ยว (One Component) เป็นของเหลว มีความคงทนต่ออุณหภูมิสูง และสามารถทำหน้าทีเป็นฉนวนลดความร้อน ยึดเกาะกับพื้นผิวคอนกรีตได้ดี เคลือบบนคอนกรีต 3 ลำดับชั้นที่ความหนารวม 2-3 มม. เป็นเสมือนยางคลุมผิวคอนกรีต ไร้รอยต่อ มีความยืดหยุ่นตัวสูง 5-6 เท่าตัว

ทนทานต่อแรงดึงและแรงฉีกขาด (Elongation and Tear Strength) ได้ดีกว่าวัสดุประเภทอื่น ทำให้ช่วยแก้ปัญหาการรั่วซึม ลดรอยแตกร้าวของพื้นคอนกรีตได้ดี ลักษณะพื้นผิวสวยงาม ทำความสะอาดและซ่อมแซมได้ง่าย สามารถซ่อมแซมได้เฉพาะจุด ทนต่อสภาพอากาศทั่วไป หากเลือกชนิดฟิล์มแข็ง จะใช้เป็นพื้นสนามกีฬาอเนกประสงค์ได้ อายุการใช้งานกว่า 10 ปี

ลำดับชั้นวัสดุกันซึม

ระบบกันซึมโพลียูรีเทน มีทั้งหมด 3 ลำดับชั้น ให้ความหนารวมไม่น้อยกว่า 3.0 มม. ประกอบด้วย
Layer Product Name Consumption
ชั้บที่ 1: ชั้นรองพื้น (Primer) หนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม. T-44 0.2 - 0.3 kg/m2
ชั้บที่ 2: ชั้นกันซึม เป็นโพลียูรีเทนชนิดสารเดี่ยว (One Component) หนาไม่น้อยกว่า 2.0 มม. K-One-60 2.6 - 3.9 kg/m2
ชั้บที่ 3: ชั้นทับหน้า (Top Coat) หนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม. สีเขียวหรือเทา TC-60A/KU-60G (1:8) 0.2 - 0.3 kg/m2

การปรับแอ่งน้ำขัง

ในกรณีที่ดาดฟ้ามีแอ่งน้ำขัง สามารถปรับแอ่งโดยวัสดุ Non Shrink Concrete ฉาบบริเวณแอ่งให้มีระดับเท่าบริเวณโดยรอบ หากดาดฟ้ามีรอยแตกร้าวให้ใช้โพลี่ยูรีเทนซีลแลนด์ (Polyurethane Sealant) ที่มีความหนืดสูงอุดรอยร้าว ซึ่งลดปัญหาและสร้างความเรียบของผิวคอนกรีตได้ดีมาก ไม่ควรใช้คอนกรีตก่อสร้าง

ขั้นตอนการติดตั้งระบบกันซึมดาดฟ้าโพลียูรีเทน

ตรวจสอบความชื้นของพื้นผิว ไม่เกิน 4% กรณีพื้นคอนกรีตใหม่ต้องแห้งตัวแล้วไม่น้อยกว่า 21 วัน ปรับสภาพผิวคอนกรีต โดยขัดรื้อถอนกันซึมเดิมออกทั้งหมด และ เจียร ขูด ขัดด้วยเครื่องขัดพื้น ให้เรียบปราศจากเม็ดทราย, ฝุ่น, คราบน้ำมัน และความสกปรกอื่นๆทั้งพื้นที่ กรณีพื้นเดิมแตกร้าว ต้องอุดรอยแตก ซ่อมรอยแตกร้าวด้วย โพลียูรีเทนซีลแลนด์ (PU Sealant, Sealant 501 A/B)
  1. กรณีที่มีแอ่ง ต้องซ่อมแซมแอ่งและปรับระดับ ด้วย Non Shrink Concrete และทิ้งให้แห้งในเวลาไม่น้อยกว่า 1 วัน ห้ามใช้คอนกรีตก่อสร้างแบบทั่วไป และสร้างความลาดเอียงของพื้น ให้น้ำไหลลงรางท่อรับน้ำ (Roof Floor) เพื่อการระบายน้ำเร็วที่สุด เมื่อปรับระดับเรียบแล้ว ปล่อยให้แข็งตัวก่อนแล้ว โดยใช้เวลาประมาณ 7-10 ชั่วโมงจึงสามารถทำงานต่อได้
  2. ฉีดน้ำ ตรวจวัดความเรียบของพื้นที่ ด้วยระดับน้ำ ตรวจแอ่ง ซ่อมใหม่ หากจำเป็น
  3. ลงชั้นรองพื้น (Primer T-44) ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.25 ม.ม. หรือ 0.33 กก/ตร.ม โดยใช้ลูกกลิ้งชุบน้ำยารองพื้นฉาบให้ทั่วพื้นผิว บางๆ ทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 ชั่วโมง จึงทำงานในชั้นถัดไป
    – หากอากาศชื้นเย็น การแห้งตัวจะช้าลง (6-7 ชม.)
    – หากอากาศร้อนมีแดด การแห้งตัวจะเร็วขึ้น (3-4 ชม.) หรือตรวจดูด้วยการแตะจับที่ผิวงาน

     

ลงชั้นกันซึม ปั่นน้ำยากันซึมระบบโพลียูรีเทนชนิดสารเดี่ยว 1 Component (K-ONE 60) โดยไม่มีการผสมสารอื่นใด ให้กระจายเข้ากันดี เทปาดลงพื้นแล้วคราดด้วย Rack หรือด้วยระบบ Self-Leveling ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 2.0 มม. (ปริมาณของวัสดุ 2.6 กก./ตร.ม.) ให้ผิวเรียบ ไร้รอยต่อ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ประมาณ 7-15 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

เคลือบชั้นผิวทับหน้าด้วยระบบโพลียูรีเทนเลือกสีที่ต้องการฟ้า เขียว เทา ชนิด 2 Component (Top Coat TC-60/KU-60) เพื่อป้องกันแสง UV โดยการผสมและปั่นให้เข้ากัน ใช้ลูกกลิ้งชุบน้ำยากลิ้งให้ทั่วพื้นผิวด้วยยระบบ Coating ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม.หรือ 0.33 กก/ตร.ม แล้วทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เป็นอันแล้วเสร็จ

คุณสมบัติทางฟิสิกส์

มีผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ดังนี้

  1. ไม่พบค่าโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมี่ยม ปรอท โดยสิ้นเชิง
  2. ค่าความแข็ง (Hardness) ต้องไม่สูงกว่า 60 Shore A ตามมาตรฐาน ASTM D 2240-05(2010)
  3. ค่าความต้านแรงดึง (Tensile Strength) ต้องไม่น้อยกว่า 2.50 MPA ตามมาตรฐาน ASTM D 412-06a(2013)
  4. ค่าความต้านแรงฉีก (Tear Strength) ต้องไม่น้อยกว่า 12.0 N/mm ตามมาตรฐาน D 624-00(2012)
  5. ค่าความยืดตัวเมื่อขาด (Elongation at Break) ต้องไม่น้อยกว่า 500 % ตามมาตรฐาน ASTM D 412-06a(2013)
  6. ค่าความทนต่อสภาวะแวดล้อม เป็นเวลา 168 ชม. เกรย์สเกล ระดับ 5 ตามมาตรฐาน ASTM G 154-12a

ไนโช เป็นผู้นำกันซึมชนิดโพลียูรีเทนมาใช้ในประเทศไทยเป็นรายแรกๆ เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว และได้พิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า กันซึมโพลียูรีเทน เป็นกันซึมที่เหมาะสมที่สุด สำหรับสภาพภูมิอากาศและโครงสร้างสิ่งก่อสร้างของอาคารในประเทศไทย

สิ่งก่อสร้างต่างๆในประเทศไทยที่ผ่านมา ได้แก่ อาคาร สะพาน ถนนยกระดับและห้องสุขา ขาดการใส่ใจเรื่องการป้องกันการรั่วซึม ภายหลังการใช้งานไประยะหนึ่ง ก็จะพบปัญหาการซึมของน้ำจากภายนอกเข้าไปภายในสิ่งก่อสร้าง เป็นเหตุให้ทุกวันนี้ อาคารต่างๆ ล้วนอยู่ในสภาวะจำเป็นต้องถูกซ่อมแซม

การให้ความสำคัญของระบบกันซึม ต้องพิจารณาตั้งแต่ในขั้นการออกแบบและก่อสร้าง โดยการเสริมชั้นกันซึมระหว่างการเทคอนกรีตหรือปูกระเบื้อง และไม่ใช่เป็นกันซึมชนิดผสมในเนื้อคอนกรีต กันซึมประเภทแรกที่กำลังกล่าวถึงนี้ เป็นกันซึมโพลียูรีเทนชนิดไม่สัมผัสแสง (Non Exposure Type) เป็นของเหลว ฉาบหรือทาบนพื้นล่างก่อนเทคอนกรีต ให้มีความหนา 2.0 มม ก่อนมีวัสดุอื่นๆเช่นคอนกรีต ฉาบทับ ทำให้โครงสร้างของสิ่งก่อสร้างไม่ถูกความชื้นซึมซับเข้าไปในเนื้อวัสดุของโครงสร้างหลัก เช่น เหล็กและปูน

กันซึมระบบโพลียูรีเทนเป็นกันซึมที่ใช้งานเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ดาดฟ้า ผนังอาคาร กันซึมประเภทนี้เป็นการซึมชนิดที่สามารถสัมผัสแสง (Exposure Type) ซึ่งผิววัสดุกันซึมชั้นบนจะมีส่วนผสมของสารป้องกันรังสี UV เพื่อรักษาคุณภาพของเนื้อกันซึม

ผลงานกันซึมของเรา

Scroll to Top