กันซึมเพียวโพลียูเรีย
หน้าแรก
กันซึมไฮบริดโพลียูเรีย
กันซึมเพียวโพลียูเรีย
Pure Polyurea
กันซึมดาดฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงสูด แห้งตัวเร็ว ใช้เครื่องเฉพาะในการฉีดพ่น จึงมีราคาแพง
กันซึมเพียวโพลียูเรีย (Pure Polyurea) เป็นระบบกันซึมดาดฟ้าที่สร้างขึ้นมาพิเศษสำหรับงานซ่อมแซมและบำรุงรักษาพื้นผิว ซึ่งโพลียูเรียสามารถเซทตัวได้อย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ โดย 100% ของส่วนประกอบ 2 ส่วนองค์ประกอบ (Two components) ที่มีความแข็งแรงทนทานและยืดหยุ่นสูง ยึดเกาะทุกสภาพพื้นผิว เช่น คอนกรีต เหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก ไฟเบอร์กลาส การทำงานต้องใช้เครื่องเฉพาะ ที่มีแรงดันสูงพร้อมกับการให้ความร้อน
เป็นกันซึมดาดฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ากันซึมดาดฟ้าทุกชนิด และแห้งตัวในระยะเวลาสั้นมาก กล่าวคือแห้งตัวภายใน 5-10 นาที มีค่าความต้านทานแรงดึง ความแข็ง การทนแรงกระแทก การทนต่อสารเคมีสูง สามารถแช่น้ำได้เป็นเวลา นานโดยไม่เกิดความเสียหาย จึงมีราคาแพงสุดในกลุ่มกันซึมดาดฟ้า
ลำดับชั้นวัสดุกันซึม
กันซึมดาดฟ้าโดยโพลียูเรีย มี 3 ลำดับชั้น ให้ความหนารวมประมาณ 1.0 มม.
- ชั้นแรก เป็นรองพื้น (Primer) หนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม.
- ชั้นที่สอง เป็นกันซึมดาดฟ้าโพลียูเรีย ชนิด 2 องค์ประกอบ (Two components) หนาไม่น้อยกว่า 1.0 มม.
- ชั้นที่สามเป็นเคลือบทับหน้า หนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม.
ขั้นตอนการติดตั้งกันซึมดาดฟ้าระบบไฮบริดโพลียูเรีย
- ปรับสภาพผิวคอนกรีต โดยรื้อถอนกันซึมดาดฟ้าเดิมออกทั้งหมด เจียรขัดด้วยเครื่องขัดพื้น ให้เรียบปราศจากคราบน้ำมัน จารบีและความสกปรกอื่นๆและอุดรอยแตกของพื้นคอนกรีต รางน้ำ และพื้นผิวอื่นๆ ทั้งพื้นที่ และหากพื้นเดิมไม่เรียบ แตกร้าว หรือเป็นแอ่ง ต้องซ่อมแซมและปรับระดับให้มีความลาดเอียงลงรางระบายน้ำ ในกรณีบริเวณที่เป็นแอ่งขนาดเล็ก ใช้การปิดอุดด้วยโพลียูรีเทนความหนืดสูง (Putty)
- ลงรองพื้น (Primer) ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.25 ม.ม. โดยใช้ลูกกลิ้งชุบน้ำยารองพื้นฉาบให้ทั่วพื้นผิว ทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 ชั่วโมงจึงทำงานในชั้นถัดไป เมื่อปรับระดับเรียบแล้ว ปล่อยให้แข็งตัวก่อนแล้ว โดยใช้เวลาประมาณ 7-10 ชั่วโมงจึงสามารถลงชั้นกันซึมดาดฟ้าได้
- การฉาบกันซึมดาดฟ้า (Polyurea) ด้วยเครื่องฉีดเฉพาะ โดยมีความร้อนและแรงดัน หนาไม่น้อยกว่า 1.0 มม. ปล่อยให้แห้งในเวลา 1 ชั่วโมง
4. ฉาบเคลือบผิวหน้า (Topping) โดยการปั่นอย่างน้อย 3 นาที ใช้ลูกกลิ้งฉาบผิว ปรับให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.25 มม. ในการทำงาน แล้วทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เป็นอันแล้วเสร็จ
ลักษณะเฉพาะ
คุณสมบัติทางกายภาพ ของโพลียูเรีย เป็นดังนี้
- ความยืดเมื่อขาด (Elongation at Break) 300 %
- ความแข็ง (Hardness) 90 Shore A
- ความต้านแรงดึง (Tensile Strength) 16 MPA
- ความต้านแรงฉีก (Tear Strength) 50 N/ mm
- ทนต่อแรงขูดขีด (Abrasion resistance) สึกกร่อนน้อยกว่า 100 มก(น้ำหนักสูญเสีย)
- การซึมผ่านของน้ำ (water Absorption) น้อยกว่า 2%
- ไอน้ำซึมผ่าน (water Vapor Transmission) น้อยกว่า 5 g/m2
- แรงดึงให้ขาดa. ระหว่างฟีล์ม >25 kg/cm2
b. ระหว่างคอนกรีต >10 kg/cm2
c. ระหว่างเหล็ก >35 kg/cm2 - การทนต่อเคมี 10% H2SO4, 5% NaOH, 5% NaCl
- ความทนต่อสภาวะแวดล้อม เป็นเวลา 168 ชม. การเปลี่ยนสี เกรย์สเกลระดับ 5
เปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพของกันซึมระดับสูง
คุณสมบัติ | Polyurea | Hybrid Polyurea | Polyurethane |
---|---|---|---|
ความต้านแรงดึง (Tensile Strength) | 30-35 Mpa | 17-18 Mpa | 14-15 Mpa |
การยืดตัวเมื่อขาด (Elongation at Break) | 350-300% | 300-400% | 600-700% |
แรงที่ทำให้ฉีกขาด (Tear Strength) | 130-140 N/mm | 40-50 N/mm | 30-35 N/mm |
ความแข็ง (Hardness) | 90 Shore A | 90 Shore A | 60-70 Shore A |
เครื่องมือที่ใช้ (Machine or Equipment) | เครื่องเฉพาะงาน ฉีดด้วยแรงดันสูงและความร้อน | ใช้เครืองมือทั่วไปด้วยการปาดหรือสเปร์ | |
เวลาในการแห้งใช้งานได้ | น้อยกว่า 1 ชั่วโมง | 2 ชั่วโมง | 12-15 ชั่วโมง |
การป้องกันรังสียูวี ต้องใช้ Top Coat | 5 Grey Scale | 5 Grey Scale | 5 Grey Scale |
ขนาดพื้นที่ที่ควรใช้ เทียบจากราคาและคุณสมบัติ | ควรมีพื้นที่ใหญ่มาก เป็นพื้นที่สำคัญมาก | ไม่จำกัด | |
ราคาวัสดุรวมค่าแรง | แพงมาก | แพง | ปานกลาง |
ความทนทาน ระยะเวลาใช้งาน | มากกว่า 8 ปี | 7-8 ปี | 6-7 ปี |